OKRs คือแนวทางในการทำงานแห่งโลกยุค 4.0 ใช่หรือไม่

OKRs คือแนวทางในการทำงานแห่งโลกยุค 4.0 ใช่หรือไม่

ถ้าถามว่า ในปัจจุบัน บริษัทส่วนใหญ่ใช้มาตรฐานอะไรในการประเมินและควบคุมการทำงานของทุกคนในองค์กร เชื่อว่าร้อยละ 90 คงตอบว่า KPI เป็นแน่แท้ แต่ถ้าถามต่อไปว่า แล้วในองค์กรคุณ ได้นำ KPI ที่ตั้งเอาไว้ มาช่วยพัฒนาให้องค์กรก้าวไปข้างหน้าหรือไม่ หรือ KPI ช่วยให้พนักงานของคุณรู้สึกมีส่วนร่วมกับองค์กรอย่างไรบ้าง คงเป็นคำตอบที่ตอบได้ค่อนข้างยาก ดังนั้น ด้วยคำถามเหล่านี้แหล่ะ จึงได้เกิดแนวคิดที่เรียกว่า OKRs ขึ้นมา เพื่อช่วยให้องค์กรสามารถปรับตัวและให้ทุกคนในองค์กรมีส่วนร่วมในการพัฒนาและก้าวไปข้างหน้ามากขึ้น

เจ้า OKRs นี้เนี่ย ไม่ใช้พึ่งเกิดขึ้นเมื่อปีสองปีมานี้ แต่ได้ถูกนำมาใช้ครั้งแรกในบริษัท Google ตั้งแต่ปี 1999 หรือก็คือ 20 กว่าปีที่แล้ว ตั้งแต่ยุคที่ Google มีพนักงานอยู่ประมาณ 40 คน ทำให้บริษัทเติบโตมาได้อย่างต่อเนื่อง จนถึงปัจจุบันที่มีพนักงานกว่า 60,000 คน!!

เอาละ เดี๋ยวเรามาดูคอนเซ็ปคร่าวๆของ OKRs กันก่อนดีกว่า

OKRs ประกอบด้วย 2 ส่วน ส่วนแรก O: Objective ซึ่งก็คือ วัตถุประสงค์หลักของเรา บอกว่าเรามีจุดมุ่งหมายในการทำงานของเราคืออะไร และส่วนที่สองคือ KRs: Key Results จะเป็นตัวผลลัพธ์หลัก ซึ่งจะเป็นตัวระบุว่าเราได้บรรลุตามจุดมุ่งหมายที่เราตั้งเอาไว้หรือไม่

แล้ว OKRs นี้ มีข้อดียังไง ทำไมถึงตอบโจทย์โลกยุค 4.0 หล่ะ!?

  1. OKRs จะมีการวัดผล และปรับเปลี่ยนหรือปรับปรุงทุก 3 เดือน (รายไตรมาส) ด้วยโลกธุรกิจในปัจจุบันซึ่งเป็นยุคดิจิตอล สภาพเศรษฐกิจหรือความต้องการของลูกค้ามีการปรับเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วมาก หากเรามานั่งดูและสรุปผลกันเป็นรายปีแบบ KPI จะทำให้องค์กรปรับตัวได้ช้า และไม่สามารถแข่งขันกับสภาพตลาดในปัจจุบันได้
  2. ไม่ยึดติดกับข้อจำกัดหรือหน้าที่ในแบบเดิมๆ OKRs จะเป็นสิ่งที่พนักงานหรือหน่วยงานแต่ละหน่วยจะทำการกำหนดกันขึ้นมาเอง โดยดูจากหน้าที่ความรับผิดชอบของตัวเอง และแนวทาง OKRs ของบริษัทหรือของหัวหน้า และจากการที่พนักงานแต่ละคนได้รับอิสระในการตั้งเป้าหมายของตนเอง จะทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆเกิดขึ้น ก่อให้เกิดความคิดที่อยากจะพัฒนามากขึ้น
  3. รู้สึกมีความกระตือรือร้นและมีเป้าหมายในการทำงานมากขึ้น ด้วยระบบ KPI แบบเดิมๆ จะมีเพียงการบอกว่าตนเองต้องทำอะไร ให้ได้มาตรฐานคะแนนเท่าไหร่ แต่ไม่บอกว่า พนักงานแต่ละคนกำลังทำสิ่งนี้ไปเพื่ออะไร แต่ด้วย OKRs จะมีการระบุวัตถุประสงค์ จึงจะทำให้พนักงานรู้ว่าตนกำลังจะทำสิ่งเหล่านี้ไปเพื่ออะไร และจะได้อะไรเป็นผลตอบแทนกลับมา

จากข้อดีของ OKRs ทั้ง 3 ข้อนี้ ทุกท่านมีความคิดเห็นกันอย่างไรบ้าง คิดว่าการนำ OKRs มาใช้ จะตอบโจทย์กับองค์กรของท่านและยุคสมัยในปัจจุบันหรือไม่อย่างไร สำหรับแนวทางการนำ OKRs มาประยุกต์ใช้ในองค์กรได้อย่างไร เดี๋ยวเรามาพบกันใหม่ในบทความหน้า

Share on facebook
Share on twitter
Share on linkedin
Share on email

Other Updates

Resource

RoHs คืออะไร ทำไมถึงเป็นค่ามาตรฐานเพื่อสิ่งแวดล้อม

RoHS ย่อมาจาก Restriction of Hazardous Substances เป็นข้อกำหนดที่ 2002/95/EC ของสหภาพยุโรป (EU) ว่าด้วยเรื่องของการใช้สารที่เป็นอันตรายในอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

อ่านต่อ »
Hotmelt Adhesive

ปัจจัยในการเลือกใช้กาว

สำหรับหลายๆคนอาจจะมองว่า กาวก็คือกาว ใช้ติดของได้สาระพัด แต่ในความเป็นจริงแล้ว กาวมีหลายประเภทมาก ดังนั้น เวลานำมาใช้งาน ผู้ใช้ควรเลือกให้เหมาะสมกับการใช้งานจริงๆ ไม่เช่นนั้นแล้ว จะพบว่า วัสดุที่เราเอาไปติด มีการหลุดร่อน และจะมีปัญหาได้

อ่านต่อ »